วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สบู่สมุนไพร




กิตติกรรมประกาศ
                 การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี   เพราะได้รับความกรุณาแนะนำ  ช่วยเหลืออย่างดียิ่งจาก              คุณครูรัตนา นวีภาพ ครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(IS2) ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณผู้ปกครองที่ได้กรุณาให้แนวคิดต่างๆ ข้อแนะนำหลายประการ ทำให้งานการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้เสร็จสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น
สุดท้ายขอขอบคุณผู้ปกครองที่ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็วและขอขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายท่าน ซึ่งไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด
                                                                                                  
                                                                                                                                         คณะผู้ศึกษา





                                                                         บทคัดย่อ

            ในยุคปัจจุบันคนเราได้มีวิวัฒนาการต่างกันมากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทำให้สิ่งของต่างๆมากมายถูกปรับเปลี่ยนให้สะดวกสบายมากขึ้นสบู่ก็เช่นเดียวกันสบู่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปร่างไปตามยี่ห้อต่างๆซึ่งบางยี่ห้อก็อาจมีการใส่สารที่อาจมีประโยชน์หรือไม่มีก็ได้อาจใส่สารพิษเพื่อจุดประสงค์ต่างๆในการที่จะสามรถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้การศึกษาสบู่ขมิ้นครั้งนี้ของกลุ่มข้าพเจ้าก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสบู่ที่ปราศจากสารเคมีและเพื่อนำสมุนไพรอย่างขมิ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดและยังสามารถเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย





                                                                        บทที่ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา           
            สบู่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ปัจจุบันคนทุกคนนิยมใช้สบู่ที่ซื้อตามท้องตลาดตามห้างสรรพสินค้าและมีมากมายหลายหลากยี่ห้อมีหลากหลายประเภททั้งสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวมีหลากหลายราคาอาจแพงถึง100บาท และบางประเภทบางชนิดมีราคาถูกมากเพียง 20 บาท ซึ่งสบู่เหล่านั้นอาจทำมาจากสมุนไพรต่างๆหรือสารเคมีก็ได้แต่พวกเราทุกคนจะรู้ได้อย่างไรว่าสบู่นั้นมีความปลอดภัยในตัวของเรารู้ได้อย่างไรว่าปราศจากสารเคมี
                กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษาการทำสบู่จากสมุนไพรต่างๆอาทิ เช่น ขมิ้น ฟักทอง มะขาม มะกรูด เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านั้นมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงอย่างนำสมุนไพรเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นสบู่และสบู่ที่ได้จัดทำขั้นเพราะกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตระหนักคิดว่าสบู่ในปัจจุบันซึ่งมีสารเคมีปะปนมาด้วยอาจเป็นผลอันตรายต่อผิวของมนุษย์ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงอยากทำสบู่ที่ปราศจากสารเคมี เพื่อเป็นประโยชน์กับสุขภาพร่างกายของคนทุกคน
                การทำสบู่ของกลุ่มข้าพเจ้าเริ่มจากการศึกษาการทำสบู่ที่ปราศจากสารเคมีและต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดถ้าเราสามารถทำสบู่ได้ด้วยตนเองและอีกมากมายกลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทำขึ้นมา ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะศึกษาการทำสบู่จากพืชสมุนไพรจึงมุ่งศึกษาการทำสบู่ที่ดีมีประโยชน์ปราศจากสารเคมีสบู่จากสมุนไพรนี้จึงได้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกคนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อทำสบู่ปราศจากสารพิษ
 2.เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
3.เพื่อเพิ่มรายได้           

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
            1.ได้รู้วิธีการทำสบู่
                2.สามารถทำสบู่ขึ้นเองได้



                                                                            

                                                                           บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
             
การศึกษาเรื่องการทำสบู่จากขมิ้นในครั้งนี้   ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องแปรเนื้อหาเอกสารออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.             ความหมายและความสำคัญของสบู่
1.1      ความหมายของสบู่
1.2      ความสำคัญของสบู่
                2.   ประเภทของสบู่
                              2.1 สบู่ก้อน
                              2.2 สบู่เหลว                        
                3. ส่วนประกอบของสบู่
                                3.1 สารเคมี
                                3.2 สารปรับปรุงคุณสมบัติอื่นๆ
                                3.3 สมุนไพร
                4. วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำสบู่
                                4.1 วัสดุอุปกรณ์
                                4.2 วิธีการทำ
1.ความหมายและความสำคัญของสบู่
1.1 ความหมายของสบู่  สบู่ เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย แต่เดิมใช้เพื่อ ชำระล้างร่างกาย แต่ในปัจจุบันกระบวนการผลิตมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงอาจมีการเพิ่มสารอื่นๆ ซึ่งอาจมีประโยชน์หรือมีพิษก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีสรรพคุณตามต้องการของผู้ใช้ เช่น มีสีสวย มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยา เป็นต้น
1.2 ความสำคัญของสบู่ สบู่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมาก สบู่ช่วยชำระล้างร่างกายให้สะอาดซึ่งสบู่บางยี่ห้ออาจมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันไป
2.ประเภทของสบู่
                2.1 สบู่ก้อน  แบ่งเป็น 5 ประเภท
                2.1.1 สบู่ถูตัวทั่วไป หมายถึง  สบู่ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมหรือโพเเตสเซียมหรรือเกลือแอมโมเนียมหรือเกลือเอมีนของกรดไขมันของน้ำมัน หรือไขมันจากพืชและ/หรือจากสัตว์ ใช้สำหรับขจัดสิ่งสกปรกออกจาก ผิวหนัง
2.1.2 สบู่ที่เติมสารระงับเชื้อ หมายถึง  สบู่ถูตัวที่เติมสารระงับเชื้อ ได้แก่ ไตรโคคาบาน (trichlocarban) ไตรไตรโคซาน (trichosan) สมุนไพร และสารอื่นใดที่มีประสิทธิภาพในการระงับเชื้อ
2.1.3 สบู่ประเทืองผิว หมายถึง  สบู่ถูตัวที่เติมสารประเทืองผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง รวมกันสารประเทืองผิว  หมายถึง  กรดไขมัน หรือสารให้ความชุ่มชื้น (moisturizer) เช่น บัตเตอร์โกโก้ (cocoa butter) น้ำมันแร่ (mineral oil)  กลีเซอรีน (glycerine) ซอร์บิทอล (sorbital) โพรพิลีนไกลคอล(propylene glycol) เป็นต้น
2.1.4 สบู่เด็ก หมายถึง  สบู่ถูตัวที่มีไฮดรอกไซด์อิสระต่ำ เหมาะกับผิวหนังของเด็ก
2.1.5 สบู่สังเคราะห์ หมายถึง สบู่ถูตัวที่เติมสารลดเเรงตึงผิวสังเคราะห์ สารลดเเรงตึงผิวสังเคราะห์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสมบัติในการลดเเรงตึงผิว  อาจเป็นได้ทั้ง แอนไอออนิก (anionic) แคตไอออนิก (cationic) นอนไอออนิก (non-ionic) และ แอมโฟเทอริก (amphoteric)
2.2 สบู่เหลว เป็นสารสังเคราะห์ ลดแรงตึงผิว (surfactant) แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.2.1  ลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) เช่น sodium lauryl ether sulfate ซึ่งนิยมใช้ในสบู่เหลวและแชมพูเกือบทุกชนิด
2.2.2 ลดแรงตึงผิวชนิดประจุผสม (amphoteric herfactant) เช่น สาร betaine ซึ่งจะไม่ระคายเยื่อบุผสม อยู่ในสบู่เหลว หรือแชมพูเหลวสำหรับเด็ก สารจะมีฟองน้อยกว่าและราคาแพงกว่า สบู่เหลวมีความเป็นกรดด่างเกือบจะเท่ากับผิวหนัง คือประมาณ pH 5-6
3. ส่วนประกอบของสบู่
3.1 สารเคมี
3.1.1 เกลือโซเดียมของกรดไขมัน  ( Sodium Salt of Fatty Acids )   
3.1.2 น้ำ  ( ที่เหลืออยู่ในเนื้อสบู่ หลังจากกระบวนการผลิต )
3.1.3 กลีเซอรอล (Glycerol)   ( ที่เหลืออยู่ในเนื้อสบู่ หลังจากกระบวนการผลิต )
3.1.4 โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride) หรือ เกลือแกง ( ที่เหลืออยู่ในเนื้อสบู่ หลังจากกระบวนการผลิต )
3.2 ส่วนประกอบ / สารปรับปรุงคุณสมบัติ อื่นๆ  ( Other Ingredients / Additives )  
3.2.1 สารรักษาสภาพความชื้นของก้อนสบู่  ( Humectants )  เช่น กลีเซอรอล (Grezerroal)  
3.2.2 สารช่วยจับ แคลเซียมและแมกนีเซียมในน้ำกระด้าง ( เพื่อป้องกันการเกิด ไคลสบู่ )  เช่น  Tetrasodium EDTA ,  Tetrasodium Etidronate ,  Disodium EDTA ,  Disodium Etidronate
3.2.3 สารช่วยให้ผิวนุ่มและไม่แห้งแตก  ( Emollient ) เช่น  กลีเซอรอล (Glycerol) ,  Jojoba Oil , Shea Butter Oil
                3.2.4 กรดไขมัน  ( Fatty Acids ) เช่น  Palmitic Acid
3.2.5 กรดบอริก  (Boric Acid)
3.2.6 สารต่อต้านแบคทีเรีย  ( Antibacterial )  เช่น  Trichlorocarbanilide
3.2.7 ผงช่วยขัดผิวและขี้ไคล  เช่น  Pumice Stone ,  ทรายละเอียด ซิลิกา (Silica)  ,  ผงบดจากเปลือกเมล็ดพืช
3.2.8 น้ำหอม หรือ สารให้กลิ่นหอม  ( Perfume  /  Fragrance )  
3.2.9 สี  ( Colorant )
3.3  สมุนไพร
3.3.1 ขมิ้น
3.3.2 มะขาม
3.3.3 ส้ม
3.3.4 อื่นๆ 
4.วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำสบู่
            4.1 วัสดุอุปกรณ์
                4.1.1 หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน)
4.1.2 เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)
4.1.3 ไม้พาย 1 อัน
4.1.4 ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)
4.1.5 ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)
4.1.6 ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)
4.1.7 เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)
4.1.8 แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)
4.1.9 เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส
4.1.10 เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม
4.1.11 ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก
4.1.12 แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติก
4.1.13 อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH
4.2 วิธีการทำ
4.2.1 เตรียมแม่พิมพ์สบู่
4.2.2 เตรียมเครื่องมือทั้งหมด
4.2.3 ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา
4.2.4 ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง
4.2.5 ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส
4.2.6 ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง
4.2.7 เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง
4.2.8 เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์
4.2.9 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน
4.2.10 ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส
4.2.11 ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแล้วนำไปใช้ได้เลย




บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
            ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการการศึกษาเรื่อง สบู่ขมิ้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้
ระเบียบที่ใช้ในการศึกษา
                ในการศึกษาใช้รูปแบบการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต สอบถามผู้รู้และทดลองทำ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
1.             ระยะเวลาในการศึกษา
14 ก.ย 57-21 ก.ย 57
2.             วิธีดำเนินการศึกษา
ผู้ศึกษาได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
1.             กำหนดเรื่องที่จะศึกษา
2.             เลือกเรื่องที่สนใจที่สุด
3.             ศึกษาวิธีการดำเนินงานของกลุ่ม
4.             สมาชิกในกลุ่มร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา
5.             ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
6.             รวบรวมข้อมูล
7.             สรุปผลการศึกษา
3.             เครื่องมือในการศึกษาและวิธีการทำ
วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสบู่
1.             หัวเชื้อทำสบู่
2.             ขมิ้น
3.             แม่พิมพ์
4.             หม้อ  เตาแก๊สและทัพพี


                                                วิธีการทำ
1.             เตรียมแม่พิมพ์
2.             เตรียมเครื่องมือทั้งหมด
3.             นำหัวเชื้อไปต้มให้ละลาย
4.             นำขมิ้นไปใส่ในหม้อ แล้วคนให้เข้ากัน
5.             นำไปพักไว้ 5-10 นาที แล้วนำไปใส่แม่พิมพ์
6.              วางทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
7.             นำออกจากแม่พิมพ์แล้วนำไปใช้ได้



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้สบู่ขมิ้น ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
  ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้สบู่ขมิ้น ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
มาตราส่วนประมาณค่าเฉลี่ย 5 ระดับ
                   5 หมายถึง มากที่สุด        4 หมายถึง มาก      3 หมายถึง ปานกลาง
                  2 หมายถึง น้อย               1 หมายถึง น้อยที่สุด     

รายการประเมิน
ระดับคะแนน
5
4
3
2
1

1.ความสะอาด
7คน
2คน
1คน
  -
   -

2.สีสันของสบู่
5คน
1คน
4คน
-
-

3.การเกิดฟอง
5คน
2คน
1คน
2คน
-

4.กลิ่นของสบู่
8คน
2คน
-
-
-

5.ความชุ่มชื้น
2คน
5คน
-
-
-
 
                จากตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
มีความพึงพอใจในการใช้สบู่ อยู่ในระดับดี




บทที่ 5
สรุปผล อภิปราย และเสนอแนะ
  จากกรศึกษาครั้งนี้ เพื่อการทำสบู่ที่ปราศจากสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2/2557 สามารถสรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะได้ดังนี้
                1.วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                2.เครื่องมือใช้ในการศึกษา
                3.วิเคราะห์ข้อมูล
                4.สรุปผลการศึกษา
                5.ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์การศึกษา
                1.เพื่อทำสบู่ปราศจากสารพิษ
                2.เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
                3.เพื่อเพิ่มรายได้
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน  เรื่องความพึงพอใจในการใช้สบู่ขมิ้น
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการทำสบู่ขมิ้น โดยการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้สบู่ขมิ้นโดยวัดค่าเฉลี่ย


สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาสบู่ขมิ้นที่ปราศจากสารเคมีของผู้ทดลองใช้ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพดีมากที่สุด
การอภิปรายผลการศึกษา
                การศึกษาสบู่ขมิ้นนั้น ในระหว่างการทำงานนั้นมีการขัดแย้งกันในกลุ่มบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดี สบู่ขมิ้นที่กลุ่มของข้าพเจ้าทำขึ้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้บางคนอาจแพ้ขมิ้น โดยสบู่ที่ได้ทำขึ้นได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้เป็นอย่างดี และสบู่ขมิ้นยังไม่มีสารพิษเจือปนปลอดภัยไร้สารเคมี
ข้อเสนอแนะ
   1.สบู่อาจใช้สมุนไพรอย่างอื่นแทนขมิ้นได้ เช่น แครอท มะขาม เป็นต้น
   2.สามารถเปลี่ยนจากสบู่ก้อนเป็นสบู่เหลวก็ได้ เพื่อสะดวกในการใช้งาน
   3.อาจใส่สีหรือกลิ่นเพื่อให้ดูน่าใช้มากขึ้นได้

2 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Club | Online Casino website to play free casino games
    The Lucky Club online casino is 카지노사이트luckclub a unique site for those who like playing for real money. The site boasts an endless variety of games, from slots, roulette,

    ตอบลบ
  2. Casino Games | Dr. Madden's - Dr. Madden's - Dr. Madden's
    Find the best online 남원 출장마사지 casino games 밀양 출장안마 with Dr. Madden's, including slots, table games, & 정읍 출장안마 the best 밀양 출장안마 free games to 전라남도 출장안마 play online today!

    ตอบลบ